คณะวิทยาศาสตร์ฯ มทร.ธัญบุรี ‘บริการความรู้’ เปิดค่ายอิคคิวซัง สร้างนวัตกรรมด้วยสมองกล

ฉุยฉายสู่ขวัญธัญบุรี ปฐมนิเทศบัวสวรรค์ รุ่น 50
19 มิถุนายน, 2024
ศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี จัดใหญ่วันมัคคุเทศก์ไทย ‘ระดมทุนและบริจาคสิ่งของจำเป็นแก่ผู้สูงวัย’ จ.ปทุมธานี
21 มิถุนายน, 2024
ฉุยฉายสู่ขวัญธัญบุรี ปฐมนิเทศบัวสวรรค์ รุ่น 50
19 มิถุนายน, 2024
ศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี จัดใหญ่วันมัคคุเทศก์ไทย ‘ระดมทุนและบริจาคสิ่งของจำเป็นแก่ผู้สูงวัย’ จ.ปทุมธานี
21 มิถุนายน, 2024

คณะวิทยาศาสตร์ฯ มทร.ธัญบุรี ‘บริการความรู้’ เปิดค่ายอิคคิวซัง สร้างนวัตกรรมด้วยสมองกล

คณะวิทยาศาสตร์ฯ มทร.ธัญบุรี ‘บริการความรู้’
เปิดค่ายอิคคิวซัง สร้างนวัตกรรมด้วยสมองกล

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และ สวทช. จัดโครงการพัฒนาทักษะอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ค่ายอิคคิวซัง 1 : นวัตกรน้อยสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยสมองกลฝังตัว” ประจำปีการศึกษา 2567 ณ มทร.ธัญบุรี ซึ่งมีผู้ร่วมทั้งหมดกว่า 150 คน

อาจารย์อลงกต สุวรรณมณี รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน รักษาราชการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ได้ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 7 ปี ที่ถือเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีแก่ผู้เข้าร่วม และเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นจากมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำหรับค่ายอิคคิวซัง1 : นวัตกรน้อยสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยสมองกลฝังตัว ที่จัดขึ้นครั้งนี้ มุ่งเน้นใน 5 ด้านสำคัญคือ (1) เสริมสร้างความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมและการใช้งานสมองกลฝังตัวกับเซนเซอร์ (2) พัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ความรู้แก้ปัญหา (3) ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (4) กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเทคโนโลยี Internet of Thing การพิมพ์สามมิติ รวมถึง AI และ (5) เพิ่มทักษะการทำโครงงานและการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ผศ.ดร.จุฬาลักษณ์ วัฒนานนท์ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ในฐานะคณะวิทยากรหลักและคณะทำงานในโครงการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ค่ายอิคคิวซัง1 ได้จัดกิจกรรมขึ้นทั้งหมด 3 วันด้วยกัน และมีผู้เข้าร่วมรับการฝึกอบรมจำนวน 158 คน ประกอบด้วยพระครูและสามเณรจากโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 43 รูป ครูและนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 34 คน เยาวชนและครูผู้ควบคุมจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจำนวน 81 คน

นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี เข้าร่วมกว่า 15 คนในฐานะผู้ช่วยวิทยากรร่วมด้วย และครั้งนี้ได้ดีไซน์รูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการบรรยายปูพื้นความรู้ กิจกรรมกลุ่มฐานปฏิบัติการ Coding กิจกรรมการสร้างเกมส์ และที่สำคัญยังมีการพัฒนาโครงการนวัตกรรมขนาดเล็ก การคิดเชิงออกแบบเพื่อทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning :PBL) ร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับพัฒนานวัตกรรมที่ผสมผสานการคิดสร้างสรรค์ (Design Thinking) ในภาพรวมที่เกิดขึ้นผู้เข้าร่วมให้ความสนใจอย่างดีมาก สนุก มีความตื่นตัวและมีไอเดียที่น่าสนใจ

ที่สำคัญกว่านั้น การเปิดและขยายโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมแก่กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย โดยเฉพาะเยาวชนจากสถานพินิจและสามเณร ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาและโอกาสในการพัฒนาทักษะ ช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูและการให้โอกาสใหม่ๆ เพื่อพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้นผ่านทักษะความรู้ทางเทคโนโลยี ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าดูได้ที่ https://www.facebook.com/SCIandTECH.RMUTT.

 

 

เรื่อง/ฝ่ายข่าว กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี
ภาพ/ฝ่ายผลิตและเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์ และ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี

อลงกรณ์ รัตตะเวทิน
อลงกรณ์ รัตตะเวทิน
นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ (ฝ่ายข่าว) กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี

Comments are closed.