“ปทุมธานี บัว มอญ” ดอกไม้จัดตกแต่งเวทีและแท่น พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 38

“วิจัยนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์” สุดล้ำจาก มทร.ธัญบุรี กวาด 5 รางวัลใหญ่ระดับโลก เวที Innoweek2024 อุซเบกิสถาน
19 พฤศจิกายน, 2024
ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2566
28 พฤศจิกายน, 2024
“วิจัยนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์” สุดล้ำจาก มทร.ธัญบุรี กวาด 5 รางวัลใหญ่ระดับโลก เวที Innoweek2024 อุซเบกิสถาน
19 พฤศจิกายน, 2024
ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2566
28 พฤศจิกายน, 2024

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ มอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ครั้งที่ 38 ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งสิ้น 4,301 ราย ทั้งรอบเช้าและรอบบ่าย ณ หอประชุมราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และศิษย์เก่า คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้รังสรรค์เวทีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 38 ด้วยแนวคิด “ปทุมธานี บัว มอญ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิจิตร สนหอม เผยว่า แนวคิดในการออกแบบ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวปทุมธานี ให้เกิดความสอดคล้องและกลมกลืน เพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรม และความเจริญรุ่งเรืองของชาติบ้านเมือง สามารถสะท้อนถึงการพัฒนาผ่านการศึกษา โดยเฉพาะในบทบาทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ผลิตบัณฑิตเพื่อพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน โดยสามารถสื่อสารความคิดนี้ผ่านการใช้สัญลักษณ์และองค์ประกอบที่เชื่อมโยงกับความเจริญรุ่งเรือง การศึกษา และความก้าวหน้าของชาติบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรืองที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย การออกแบบครั้งนี้อาจแสดงถึง การรวมพลังของชาวราชมงคลธัญบุรี ผ่านผลงานการจัดดอกไม้ใน ส่วนต่าง ๆ ที่เปรียบเสมือนการทำงานร่วมกัน แสดงให้เห็นถือการพัฒนาที่มาจากความร่วมมือของบัณฑิตและชุมชนเพื่อประเทศชาติ

ดึงเอาเอกลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดปทุบธานีที่มี ความเกี่ยวข้องกับ สายน้ำ เจ้าพระยา บัว และวัฒนธรรมชาวมอญที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ โดยเน้นเรื่องราวของความเชื่อ วิถีชีวิต และศิลปะพื้นบ้าน เช่น ดอกบัว เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นที่มาของชื่อจังหวัด วัฒนธรรมชาวมอญ ชาวมอญในปทุมธานีมีบทบากสำคัญในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่หลากหลาย การออกแบบสามารถนำเสนอวิถีชีวิตของชาวมอญ เช่น การแต่งกายมอญ เครื่องประดับ ลายผ้า รวมถึงการประดิษฐ์และฝีมือ เช่น ลวดลายผ้าทอ ลายมอญ หรือ เครื่องนั้นดินเผามอญ ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนถึง ประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน สีและวัสดุที่ใช้ในงานออกแบบสะท้อนถึงบรรยากาศของพื้นที่ ตัวอย่างเช่น สีเขียวของในบัว สีชมพูของดอกบัว และ สีทองของ เครื่องบูชา การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ผ้าใยกล้วย หรือ ดินเผา ที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงกับภูมิประเทศ และวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ่งโดยเน้นการใช้ลวดลาย ธรรมชาติ เช่น ลายดอกบัว หรือ ลายใบไม้ และ แม่น้ำ ที่สะท้อนถึงความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของผู้คนในปทุมธานี

 

ภาพ ข่าว และเผยแพร่โดย : กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Comments are closed.