ศิลปกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ลงพื้นที่บริการวิชาการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประกาศนโยบายประหยัดน้ำ พร้อมดำเนินมาตรการเคร่งครัด
8 มิถุนายน, 2023
   ผ้าพิมพ์ลาย ผ้ามัดย้อม มทร.ธัญบุรี ทักษะอาชีพสู่นักเรียน
15 มิถุนายน, 2023
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประกาศนโยบายประหยัดน้ำ พร้อมดำเนินมาตรการเคร่งครัด
8 มิถุนายน, 2023
   ผ้าพิมพ์ลาย ผ้ามัดย้อม มทร.ธัญบุรี ทักษะอาชีพสู่นักเรียน
15 มิถุนายน, 2023

อาคารอเนกประสงค์  หมู่บ้านคันทรีปาร์ค 15  ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี            คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) นำทีมโดยอาจารย์ณัฐพล ซอฐานานุศักดิ์ ภาควิชาศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา ลงพื้นที่บริการวิชาการ เพื่อเพิ่มคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาโนช บุญทองเล็ก คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมทรัพยากรบุคคลและองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ ความถนัด ในด้านต่าง ๆ ซึ่งการให้บริการวิชาการนอกจากเป็นการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์อาจารย์อันนำมาสู่การพัฒนานักศึกษา โดยมีการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก 4 ด้านคือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม และด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ สร้างผลงานวิจัย สร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมด้านศิลปกรรมศาสตร์ บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างคุณค่า หรือมูลค่าเพิ่มของผลิตผลให้แก่ประเทศ

นายประเวศ ครองคุ้ม นักพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลบางเตย เล่าว่า ในการจัดหาโครงการทางเทศบาลบางเตยคัดเลือกโครงการที่ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปต่อยอดได้ ทำได้จริง ในขณะนี้ทางกลุ่มดำเนินการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน สินค้าของทางกลุ่มได้แก่ ตะกร้าจากผักตบชวา เป็นศูนย์การเรียนรู้ถ่ายทอดให้กับผู้ที่สนใจ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาอบรมให้ความรู้

ทางด้าน นางสมร ฟ้าคุ้ม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 เล่าว่า ชุมชนคันทรีปาร์ค 15 เป็น 1 ในชุมชนที่ได้รวมตัวกัน โดยกำลังดำเนินการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านลาดด้วนขึ้นมา โดยได้รับการส่งเสริมผ่านเทศบาลตำบลบางเตย ให้คนในชุมชนมีรายได้ ตะกร้าจากผักตบชวา เป็นสินค้าที่ได้รับการส่งเสริมของทางชุมชน สำหรับหน่วยงานที่เข้ามาให้ความรู้มาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มทร.ธัญบรี ม.ธรรมศาสตร์ ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ให้ความรู้ในการทำบรรจุภัณฑ์ การทำตลาดออนไลน์

นางสาวอภิสรา จันทร์สุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เล่าว่า ครั้งแรกที่ได้ลงชุมชน ส่วนใหญ่ช่วยอาจารย์ออกบูทในงานสัมมนาต่าง ๆ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ดี ได้นำความรู้ที่เรียนมาต่อยอด ให้ความรู้คนในชุมชนที่มีอายุมากกว่า ได้แลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ ๆ ก่อนที่จะออกไปทำงานจริง 

          การบริการวิชาการในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ระลึกจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อสร้างรายได้และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ระลึกจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้วยลูกปัดหินสี เพื่อเสริมสร้างรายได้แกชุมชน โดยทั้งสองโครงการมีวัตถุประสงเพื่อนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม มาขับเคลื่อนให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้า หรือ บริการ ที่เพิ่มคุณค่าหรือต่อยอดเชิงพาณิชย์ ร่วมกับชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ด้วยองค์ความรู้ และนวัตกรรม กิจกรรมประกอบด้วย การทำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากลูกปัดหินสี (พวงกุญแจ และเครื่องประดับ) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเศษหนัง (พวงกุญแจ และกระเป๋าเหรียญ) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเครื่องปั้นดินเผา (ที่รองแก้ว) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเศษผ้า (ถุงผ้า)ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเทียนหอม (ดอกไม้เทียนหอม) และการทำบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก

                                                กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี

                                                    ชลธิชา ศรีอุบล 0-25494994

Comments are closed.